เรื่องชวนรู้ก่อนลงทุนใน Warrant

20 สิงหาคม 2564
อ่าน 4 นาที



​หลายคนที่ลงทุนในหุ้นและเคยได้รับ warrant หรือเคยเห็น warrant ซื้อขายอยู่บนกระดานหุ้น อาจมีคำถามว่า warrant คืออะไร? ถ้าได้รับมาแล้ว จำเป็นต้องใช้สิทธิซื้อหุ้นตามที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือสามารถถือไปได้เรื่อย ๆ​

.



warrant มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น” เป็นตราสารชนิดหนึ่งที่ให้ “สิทธิ” แก่ผู้ถือโดยสามารถเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น “หุ้น” ที่ warrant ตัวนั้น ๆ อ้างอิงอยู่ ตามราคาใช้สิทธิ (exercise Price) อัตราการใช้สิทธิ (exercise ratio) และวันที่ใช้สิทธิ (exercise date) ที่ระบุไว้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบดูแล้ว warrant ก็คล้ายกับใบจองซื้อหุ้น นั่นเอง 

.



โดยทั่วไป warrant ที่ซื้อขายอยู่บนกระดานหุ้นจะมีสัญลักษณ์รูปแบบเดียวกันคือ [หุ้นอ้างอิง] - [W] [ตัวเลขระบุรุ่นที่ออก] หรือสังเกตง่าย ๆ มี “W” ต่อท้ายชื่อหุ้น เช่น XYZ-W1

.


warrant เป็นตราสารที่ให้สิทธิผู้ถือ ซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่ออก warrant ที่เรียกว่าหุ้นอ้างอิง หรือ “หุ้นแม่” โดยบริษัทที่ออก warrant สามารถวางแผนให้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้น เพื่อระดมเงินทุนเป็นระยะ ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินในแต่ละช่วง

.



warrant จัดเป็นตราสารที่มีความเสี่ยงในระดับสูงคล้ายหุ้น ด้วยลักษณะที่สามารถแปลงสิทธิเป็นหุ้นได้ 
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงในลักษณะของ warrant เองอีกด้วย

.



“Leverage” หรือ “อัตราทด” คือ การทำให้มีอัตราผลตอบแทนที่สูงโดยใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่าหลายเท่าตัว warrant โดยทั่วไปมักจะมีราคาที่ต่ำกว่าราคาของหุ้นแม่หลายเท่าตัว และมี leverage ที่สูง เรียกได้ว่าใช้เงินลงทุนน้อยแต่มีโอกาสทำกำไรได้สูง ในทางกลับกัน ผู้ลงทุนก็สามารถขาดทุนจาก warrant ได้แบบชนิดที่เรียกว่าไม่เหลืออะไรเลยก็ได้เช่นเดียวกัน ​