หุ้นกู้เอกชนและพันธบัตรรัฐบาลแตกต่างกันอย่างไร ?

09 กรกฎาคม 2568
อ่าน 4 นาที



ถ้าใครกำลังมองหาทางเลือกในการลงทุน “หุ้นกู้เอกชน” และ “พันธบัตรรัฐบาล” ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่ 2 อย่างนี้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ?

ความหมายของตราสารหนี้

ตราสารหนี้ คือ ตราสารที่ออกโดยบริษัทเอกชน รัฐบาล หรือ หน่วยงานภาครัฐเพื่อเป็นหลักฐานกู้เงิน ทำให้ผู้ให้กู้ หรือ ผู้ถือหุ้นกู้ มีฐานะเป็น “เจ้าหนี้” และผู้ออกหุ้นกู้ มีฐานะเป็น “ลูกหนี้” ซึ่งผู้ออกต้องจ่ายคืนเงินต้น และดอกเบี้ยให้ผู้ซื้อในอัตราที่กำหนด ถ้าตราสารหนี้ออกโดยบริษัทเอกชนจะเรียกว่า “หุ้นกู้” แต่ถ้าออกโดยรัฐบาล จะเรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล/ตั๋วเงินคลัง”

ความแตกต่างระหว่าง หุ้นกู้เอกชน พันธบัตรรัฐบาล

  • หุ้นกู้เอกชน มีให้เลือกหลากหลายกว่า ไม่ว่าจะเป็นอายุหุ้นกู้ ประเภทธุรกิจของผู้ออก และผลตอบแทนที่ให้ก็มักจะสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล แต่ก็จะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงกว่า เพราะมีความมั่นคงปลอดภัยน้อยกว่าพันธบัตรรัฐบาล
  • ​ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาล จะความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะมีรัฐบาลและกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ต้องนำมาพิจารณา เมื่อความเสี่ยงต่ำกว่า จึงมักมีผลตอบแทนน้อยกว่าหุ้นกู้เอกชน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมและดาวน์โหลดฟรี คลิก ​E-book เรื่องน่ารู้เมื่อลงทุน ตราสารหนี้/หุ้นกู้



​​