เปรียบเทียบ 3 กองทุนสวัสดิการเพื่อการเกษียณ

18 ธันวาคม 2563
อ่าน 2 นาที

​​​

3 กองทุน “สวัสดิการเพื่อการเกษียณ” หลากทางเลือกของมนุษย์เงินเดือน & อาชีพอิสระ


💰กองทุนประกันสังคม มีประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ 2 แบบ คือ
กรณีบำนาญชราภาพ 
หากส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 180 เดือน จะได้รับเงินเป็นรายเดือน เดือนละ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่เคยได้รับ สูงสุด 15,000 บาท และหากส่งเงินมาเกิน 180 เดือน อัตราคำนวณจะเพิ่มอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายทุก 12 เดือนที่เกินมา

กรณีบำเหน็จชราภาพ
หากส่งเงินสมทบมาไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเป็นเงินก้อนเท่ากับเงินที่เราและนายจ้างได้จ่ายสมทบเข้ากองทุนกรณีชราภาพ (ซึ่งปัจจุบันกำหนดให้นำส่งฝ่ายละ 3% ของค่าจ้าง) พร้อมผลประโยชน์ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

💰กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: มนุษย์เงินเดือนออม 1 แต่ได้ถึง 5+
ได้เงินเพิ่ม : เงินที่นายจ้างใจดีช่วยสมทบ
ได้เลือกลงทุนตามต้องการ : เช่น รับความเสี่ยงได้มาก ต้องการให้เงินเติบโตมาก ก็เลือกนโยบายการลงทุนที่มีหุ้นมาก
ได้มืออาชีพมาดูแลเงิน : มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลและบริหารเงินให้งอกเงย นอกจากนี้ ค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ยจะต่ำกว่ากองทุนประเภทอื่นด้วย
ได้รับความคุ้มครอง : เงินเราเป็นของเรา แม้จะเลิกกองทุน “กฎหมายก็ให้การคุ้มครอง”จึงไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครมาหยิบเงินเราไปได้
ได้สิทธิลดหย่อนภาษี : ตั้งแต่เงินสะสม ผลประโยชน์จากการลงทุน และเงินที่ได้จากกองทุนเมื่อเกษียณอายุ จะได้รับยกเว้นภาษี หากอายุเกษียณไม่น้อยกว่า 55 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี


💰กองทุนการออมแห่งชาติ: สวัสดิการของรัฐสำหรับอาชีพอิสระ

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เริ่มออมขั้นต่ำเพียง 50 บาท และสูงสุด 13,200 บาทต่อปี ไม่จำเป็นต้องออมเท่ากันทุกเดือน และรัฐบาลจะสมทบเงินให้มากน้อยตามระดับอายุของผู้ออม คือ

อายุตั้งแต่ 15 ปี ถึง 30 ปี รัฐจะสมทบเงินให้ครึ่งหนึ่ง สูงสุด 600 บาทต่อปี
อายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50 ปี รัฐจะสมทบให้ 80% สูงสุด 960 บาทต่อปี
อายุ 50 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 ปี รัฐจะจ่ายสมทบเต็ม 100% สูงสุด 1,200 บาทต่อปี

นอกจากนี้ เงินที่นำส่งยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวน และเมื่ออายุครบ 60 ปี จะได้รับเงินบำนาญรายเดือนในจำนวนเท่ากับที่เรานำส่งกับเงินที่รัฐสมทบให้พร้อมดอกผล เริ่มตั้งแต่ 600 บาทต่อเดือน โดยไม่เสียภาษี

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ คลิก