ตราสารอนุพันธ์

03 ตุลาคม 2562
อ่าน 3 นาที
​​“ตราสารอนุพันธ์” (Derivatives) คือตราสารที่มูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง โดยจะมีการกำหนดจำนวนสินทรัพย์อ้างอิง ราคา วันที่ส่งมอบในอนาคต
ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ เช่น   สัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชั่น (Options) ฟอร์เวิร์ด  (Forward) และสวอป (Swap) เป็นต้น 
โดยทั่วไปแล้วสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถทำการซื้อขายได้ทั้งผ่าน ศูนย์ซื้อขายที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็น ทางการ (exchange) หรือซื้อขายกันนอกตลาดที่เรียกว่า OTC (over-the-counter) ก็ได้ ประเทศไทยมีศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่าง คือ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ TFEX (Thailand Futures Exchange) โดย TFEX เป็นศูนย์สำหรับซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีสินค้าหรือตัวแปรที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ที่ ก.ล.ต. มีอำนาจกำกับดูแล ซึ่งได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย รวมถึงทองคำ น้ำมันดิบ และสินค้าเกษตร SET50 index options (ออปชั่นที่อ้างอิงกับดัชนี SET50)

ประโยชน์ของตราสารอนุพันธ์
  • ใช้ล็อค กำไร/ขาดทุน ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตกับสินทรัพย์อ้างอิง
  • ใช้สร้างผลตอบแทนแบบทวีคูณ เพราะใช้เพียงเงินหลักประกันขั้นต้นเท่านั้น ซึ่งน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินที่จะซื้อ
  • ใช้ลดความผันผวนของการลงทุน ด้วยการป้องกันความเสี่ยงในสินค้าอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง
  • สามารถลงทุนได้ แม้มีเงินจำกัด ด้วยสินค้าอ้างอิงในรูปของดัชนีต่างๆ
  • ​สามารถลงทุนได้ทั้งเวลาตลาดขึ้น หรือตลาดลง ด้วยทางเลือกซื้อก่อน หรือขายก่อนก็ได้ 

ความเสี่ยงของตราสารอนุพันธ์
อนุพันธ์ คือ การลงทุนซับซ้อนที่มีความเสี่ยงสูงมาก ๆ ถึงจะให้โอกาสสร้างผลตอบแทนแบบเท่าทวีคูณ แต่ก็อาจทำให้มูลค่าเงินลงทุนของคุณกลายเป็น 0 บาทได้ด้วย อยู่ที่การคาดคะเนเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และผลกระทบต่อสินทรัพย์อ้างอิง คุณจึงควรมีความเข้าใจเป็นอย่างดีมาก ก่อนเข้าลงทุน
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

การซื้อขายอนุพันธ์ ซึ่งอ้างอิงกับสินทรัพย์อ้างอิงประเภทต่างๆ ได้แก่ ตราสารทุน ตราสารหนี้

อ่านเพิ่มเติม
หุ้นกู้อนุพันธ์​

หุ้นกู้อนุพันธ์เป็นหลักทรัพย์ลูกผสมระหว่างหุ้นกู้กับอนุพันธ์ (หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า​

อ่านเพิ่มเติม
เคล็ดลับการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นสินค้าที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง แต่มีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ ตัวแปรอ้างอิง​

อ่านเพิ่มเติม