การออม

23 สิงหาคม 2562
อ่าน  5 นาที
​​​​​​​​​​​​​ในจำนวนเงินที่หามาได้ เราต้องแบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนการเก็บออมกับส่วนการใช้จ่าย เป็นการหา
จุดสมดุลที่ต้องการการวางแผน ที่ต้องสมดุลก็เพราะถ้าเก็บออมมากเกิน จนตระหนี่ไม่ยอมใช้จ่ายในสิ่งที่ควร ก็อาจ
ขาดคุณภาพชีวิตได้ แต่ถ้าใช้จ่ายเยอะเกิน ก็จะไม่เหลือเงินสำหรับความจำเป็นอื่นๆ ในอนาคต
การออมที่สมดุลจะ
สัมพันธ์กับช่วงเวลาของชีวิต ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ออมสั้น ออมกลาง ออมยาว และฉุกเฉิน โดยจะ
แตกต่างกันที่เป้าหมายการออม จำนวนการออม และจุดพักเงิน ดังนี้​

 

​​1
​ออมสั้น
​เป้าหมายการออม: สำหรับใช้จ่ายประจำวันและรายจ่ายเร่งด่วน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่างวดผ่อนชำระหนี้
จำนวนการออม: 1 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน
จุดพักเงิน: เงินฝากออมทรัพย์​
​​
​​
​​​
​2
​ออมกลาง
เป้าหมายการออม: สำหรับเป้าหมายใหญ่ในชีวิต เช่น เรียนต่อ ทำธุรกิจ ท่องเที่ยว ลงทุน เตรียมเงินดาวน์ซื้อบ้าน รถยนต์
จำนวนการออม: ยิ่งมากยิ่งดี เป็นส่วนที่ออมเพิ่มหลังจากกันเงินออมสำหรับ ออมสั้น ออมยาว และฉุกเฉินแล้ว
จุดพักเงิน: เงินฝากออมทรัพย์ กองทุนตลาดเงิน
​​
​​3
ออมยาว
เป้าหมายการออม: สำหรับการเกษียณ
จำนวนการออม: 10% ของเงินเดือน ออมทุกเดือนจนถึงวัยเกษียณ 
จุดพักเงิน: กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินฝากประจำ ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ กองทุนตลาดเงิน​        
​​
​​
​​
​​​
​4
​ฉุกเฉิน
เป้าหมายการออม: สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินไม่คาดฝัน เช่น เจ็บป่วย หรือตกงาน
จำนวนการออม: 3 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน 
จุดพักเงิน: กองทุนตลาดเงิน​


​​
ตัวอย่างการออม
นายสุขใจ ได้รับเงินเดือน 50,000 บาท ค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ 30,000 บาท ซึ่งถือเป็นเงินออมระยะสั้นที่ต้องเตรียม
ไว้ใช้แต่ละเดือน เขาจึงฝากแบบออมทรัพย์ ซึ่งสามารถเบิกถอนมาใช้ได้ทุกเมื่อด้วย ATM นอกจากนี้ทุกเดือนเขาจะ
กันเงิน 5,000 บาท (10% ของเงินเดือน) เป็นกองทุนออมยาวสำหรับการเกษียณ เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ในช่วงแรกเขาจะมีเงินออมต่อเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท (เงินเดือน 50,000 - รายจ่าย 30,000 - เงินออมยาว 5,000 = 15,000) เขาเก็บอยู่ 6 เดือนจนครบ 90,000 บาท (3 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน 30,000 บาท) และนำเงินไปซื้อกองทุนตลาดเงิน เนื่องจากให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝากออมทรัพย์

 
เมื่อเตรียมเงินออมสำหรับ ออมสั้น ออมยาว และฉุกเฉินแล้ว หลังจากนี้ทุกๆ เดือนเขาจะเก็บเงินออม 15,000 บาท
เป็นเงินออมกลางสำหรับรายจ่ายพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการท่องเที่ยว เงินดาวน์สำหรับซื้อบ้าน เงินลงทุนทำธุรกิจ ฯลฯ เงินออมในส่วนนี้ ยิ่งเก็บได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีเงินทุนสำหรับนำไปปรับปรุงคุณภาพชีวิตของเขามากเท่านั้