ตราสารหนี้

02 ตุลาคม 2562
อ่าน 3 นาที

​​​​​​​​​​​​​​รู้จักตราสารหนี้

ตราสารหนี้ คือสัญญากู้ยืมเงิน โดยผู้ออกตราสาร (ลูกหนี้) ตกลงจะจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆ และคืนเงินต้นให้กับผู้ถือตราสารหรือผู้ลงทุน (เจ้าหนี้) ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ชื่อเรียกของตราสารหนี้ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับใครเป็นผู้ออกตราสาร เช่น เงินฝากธนาคาร คือตราสารหนี้รูปแบบหนึ่ง ธนาคารเป็นผู้ออกตราสาร ชื่อเรียกตราสารคือ “บัญชีเงินฝาก” 


ถ้ารัฐบาลออกตราสาร เรียกว่า “พันธบัตรรัฐบาล” แบ่งได้เป็น 

พันธบัตรรัฐบาล ที่กระทรวงการคลังออกจำหน่าย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ หรือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ เป็นต้น 

พันธบัตรออมทรัพย์ เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานภาครัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งขายให้แก่บุคคลธรรมดา และ/หรือสถาบันที่ไม่มุ่งหวังกำไร เพื่อเป็นทางเลือกในการออมและการลงทุน ซึ่งผู้สนใจควรศึกษาข้อมูลของพันธบัตรออมทรัพย์ที่จะลงทุนในหนังสือชี้ชวนก่อนตัดสินใจลงทุน

>>จุดเด่นพันธบัตร มีความเสี่ยงต่ำเพราะผู้ออกคือรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ได้รับกระแสเงินสดที่มีความสม่ำเสมอทั้งจำนวนและระยะเวลาที่ได้รับ และเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ลงทุนสามารถบริหารการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

>>ข้อควรพิจารณา ผู้ลงทุนต้องพิจารณาสภาพคล่องในช่วงการถือครองพันธบัตรให้ครบอายุ อัตราดอกเบี้ยหากเป็นขั้นบันไดควรดูที่ดอกเบี้ยเฉลี่ยต่อปี และความเสี่ยงจากดอกเบี้ยคงที่ หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงกว่าดอกเบี้ยพันธบัตร ผู้ถือพันธบัตรจะไม่ได้ประโยชน์เพิ่มเติม รวมทั้งดูเงื่อนไขภาษี ซึ่งปกติดอกเบี้ยที่ได้รับจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของรายได้ดอกเบี้ย


และถ้าเอกชนออกตราสาร เรียกว่า “หุ้นกู้” ...

 

หุ้นกู้​

เป็นหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ที่ผู้ออกเป็นบริษัทเอกชน โดยบริษัทอาจมีวัตถุประสงค์ในการออก​

อ่านเพิ่มเติม
หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน

เป็นลูกครึ่งระหว่าง “หุ้นกู้ด้อยสิทธิ” กับ “ตราสารทุน (หุ้น)” หุ้นกู้ประเภทนี้เหมาะกับนักลงทุนที่สามารถลงทุน

อ่านเพิ่มเติม
หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง

หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เป็นหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปรต่างๆ แล้วแต่จะกำหนด เช่น ราคาหุ้น 

อ่านเพิ่มเติม
​​​
ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน​

“ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน” (หรือตราสารด้อยสิทธิ Basel III) คือตราสารด้อยสิทธิที่ออก

อ่านเพิ่มเติม
ผู้ลงทุนสามารถหาข้อมูลหุ้นกู้เพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลเหล่านี้​

หนังสือชี้ชวนของหุ้นกู้ที่ซื้อขายกันไปแล้ว สามารถ download ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. 

อ่าน​​เพิ่​มเติม
​​