ลงทุนผ่านช่องทางใดได้บ้าง?

04 ตุลาคม 2562
อ่าน 3 นาที

​​


1. ผ่านมืออาชีพ เป็นช่องทางการลงทุนในต่างประเทศที่ผู้ลงทุนไทยทั่วไปคุ้นเคยและนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งเหมาะกับผู้ลงทุนที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการลงทุนมากนัก หรือไม่ค่อยมีเวลาติดตามข้อมูลข่าวสารๆ ด้วยตนเอง ได้แก่ การลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund: FIF) และกองทุนรวมส่วนบุคคล (private fund: PF) ที่จะมีผู้จัดการกองทุนที่เป็นมืออาชีพมาช่วยบริหารจัดการลงทุนให้ 


2. ลงทุนผ่านโบรกเกอร์ไทย เป็นช่องทางที่ผู้ลงทุนสามารถลงทุนด้วยตนเอง โดยเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศกับโบรกเกอร์ไทยที่ให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศโดยตรงซึ่งเหมาะกับผู้ที่อยากตัดสินใจในการลงทุนด้วยตนเอง โดยจะต้องเป็นผู้ลงทุนที่มีความรู้ ความเข้าใจในการลงทุน (เช่น สามารถวิเคราะห์หลักทรัพย์ ข่าวสารในต่างประเทศได้เอง) หรือมีประสบการณ์จากการลงทุนในประเทศมาบ้างแล้ว เพราะจะต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจลงทุนด้วยตนเองวงเงินลงทุนในต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมาตรการการควบคุมเงินทุน (capital control) ของประเทศ ซึ่งในกรณีการไปลงทุนต่างประเทศนั้น ธปท. ได้อนุมัติวงเงินจำนวนหนึ่งเพื่อให้ ก.ล.ต. จัดสรรให้แก่การลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พอร์ตลงทุนต่างประเทศของบริษัทหลักทรัพย์/บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่ลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล หรือลงทุนเองผ่านโบรกเกอร์ ฯลฯ  
ในกรณีของบุคคลธรรมดาที่ลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลหรือผ่านโบรกเกอร์จะได้วงเงินรายละไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หากเป็นนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินมากกว่า 1,000 ล้านบาทจะได้วงเงินรายละไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่หากเป็นนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินน้อยกว่านั้น ก็ได้วงเงินรายละไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์ สรอ.) (ข้อมูลล่าสุด ณ พ.ย. 52)  
สำหรับการลงทุนผ่านโบรกเกอร์ โบรกเกอร์จะขออนุมัติจัดสรรวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าเป็นรายกรณี ผ่านระบบควบคุมวงเงินการลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Allotment: FIA) ของ ก.ล.ต. หลังจากนั้น ในระหว่างการลงทุน โบรกเกอร์จะคอยแจ้งความเคลื่อนไหวของวงเงินลงทุนให้ผู้ลงทุนทราบอย่างสม่ำเสมอ ผู้ลงทุนก็ควรหมั่นติดตามตรวจสอบรายงานเหล่านี้เพื่อที่จะได้ทราบสถานการณ์ของตนเองทุกระยะ  

ลงทุนในสินค้าทางการเงินใดได้บ้าง?​

​​​​ในกรณีของกองทุนรวม FIF กำหนดให้ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commission (IOSCO) หรือ ก.ล.ต. โลก เป็นต้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่หลักเกณฑ์ ก.ล.ต เกี่ยวกับประเภทหลักหลักทรัพย์ที่กองทุนรวม FIF ลงทุนได้ (สน.24/2552) และประเภทหลักทรัพย์ต่างประเทศที่โบรกเกอร์สามารถให้บริการ (ทธ. 92/2552) 

อ่านเพิ่มเติม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง