ผู้ขายผลิตภัณฑ์การลงทุน

02 ตุลาคม 2562
อ่าน 3 นาที
​​​​​​​
 
ผู้จัดจำหน่าย (underwriter) การซื้อหุ้น IPO นั้นทำได้ไม่ยาก ผู้ลงทุนสามารถจองซื้อหุ้นผ่านผู้จัดจำหน่าย (underwriter) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ หรือตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ที่บริษัทหลักทรัพย์แต่งตั้ง ซึ่งมักเป็นธนาคารพาณิชย์ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ (selling agent) กับ ก.ล.ต. โดยรายชื่อของผู้จัดจำหน่ายและตัวแทนจำหน่ายจะระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนทุกครั้ง สำหรับเอกสารที่ใช้ในการจองซื้อนั้นก็จะประกอบด้วย ใบจองซื้อ สำเนาบัตรประชาชน และบัญชีเงินฝากที่ใช้ในการซื้อขาย และเมื่อทำการจองซื้อเรียบร้อยแล้ว ผู้ลงทุนก็สามารถติดตามผลการจัดสรรได้จากผู้จัดจำหน่ายหรือบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ แต่ในกรณีที่ผู้ลงทุนไม่ได้รับการจัดสรรหุ้น ผู้จัดจำหน่ายก็จะต้องคืนเงินค่าจองซื้อให้แก่ผู้ลงทุนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากตามที่ผู้ลงทุนระบุไว้ในใบจองบริษัทนายหน้าหรือโบรกเกอร์ติดต่อเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นกับที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ โบรกเกอร์จะทำหน้าที่รับคำสั่งซื้อขายหุ้นจากผู้ลงทุน แล้วส่งไปเข้าระบบซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้จับคู่คำสั่งซื้อขายโดยอัตโนมัติ รวมทั้งชำระเงินค่าซื้อหุ้น และนำหุ้นเข้าบัญชีของผู้ลงทุนและดูแลเก็บรักษาหุ้นให้ โดยจะมีการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นจากลูกค้าทุกครั้งที่มีรายการซื้อขายหุ้น 
มั่นใจในฐานะโบรกเกอร์ได้อย่างไร? ดูจากความสามารถในการดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (net capital requirement : NCR) ได้ตามเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด และจะถูกตรวจสอบโดย ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์อยู่เป็นประจำซึ่งหากมีข้อบกพร่องในเรื่องนี้ ก.ล.ต. ก็จะมีมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขเยียวยา และเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ลงทุนทั่วไปทราบสำหรับหลักการ การดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NC) ก็คือในทุกขณะ โบรกเกอร์จะต้องมีสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายในจำนวนที่เพียงพอที่จะชำระคืนให้แก่ลูกค้าและเจ้าหนี้ของบริษัทได้อย่างรวดเร็ว หากเกิดมีปัญหาทางการเงินขึ้นมา โดยที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการซื้อขายหุ้นโดยรวม NC นั้นคำนวณได้จากจำนวนสินทรัพย์สภาพคล่องต่างๆ ที่โบรกเกอร์มีอยู่ เช่น เงินสด เงินฝาก ธนาคาร ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ เงินลงทุนในหลักทรัพย์ เป็นต้น หักออกด้วยค่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจหรือการดำเนินการอื่นใดของโบรกเกอร์ เช่น ความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ให้ลูกค้า (ลูกค้าไม่ชำระหนี้ตามกำหนด) ความเสี่ยงจากการที่โบรกเกอร์มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ (หุ้นใน portfolio ของโบรกเกอร์มีมูลค่าลดลงตามความผันผวนของภาวะตลาด) เป็นต้น เพื่อให้มูลค่าของสินทรัพย์ สภาพคล่องที่โบรกเกอร์มีอยู่ได้สะท้อนมูลค่าที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด หลังจากนั้นก็จะนำหนี้สินรวมทุกรายการที่มีอยู่ในงบการเงินของโบรกเกอร์มาหักออกจากค่านั้นอีกครั้ง จึงจะได้เป็นค่า NC​