หุ้นกู้ เป็นหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ที่ผู้ออกเป็นบริษัทเอกชน โดยบริษัทอาจมีวัตถุประสงค์ในการออกหุ้นกู้ที่แตกต่างกันไป อาทิ เพื่อขยายธุรกิจ ผู้ลงทุนในหุ้นกู้จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ หุ้นกู้จะมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนหลากหลายกว่าตราสารหนี้ภาครัฐ อีกทั้งผู้ออกซึ่งเป็นบริษัทเอกชน ยังมีความหลากหลายในเรื่องของขนาดบริษัท ความมั่นคงของฐานะการเงินและการดำเนินธุรกิจ การจะลงทุนในหุ้นกู้จึงมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาหลายประการ เช่น ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออก ลักษณะหรือเงื่อนไขเฉพาะของหุ้นกู้ อายุหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ทั้งนี้ การจำหน่ายหุ้นกู้มักกระทำผ่านธนาคารพาณิชย์ที่มีสาขามากมาย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุน แต่อาจทำให้ผู้ลงทุนสับสนว่าเป็นเงินฝากประเภทหนึ่ง ในกรณีนี้ธนาคารทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นกู้ และอำนวยความสะดวกในการขายหุ้นกู้ให้กับผู้ลงทุนเท่านั้น
หุ้นกู้ที่ ก.ล.ต. อนุญาตให้บริษัทออกขาย ไม่ได้การันตีว่าหุ้นกู้นั้นไม่เสี่ยง ก.ล.ต. เพียงพิจารณาว่าบริษัทได้ทำตามขั้นตอนและมาตรฐานในการออกหุ้นกู้ครบถ้วนแล้ว เช่น ขายให้กับใครได้บ้าง ข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีอะไร เป็นต้น
ส่วนความเสี่ยงของหุ้นกู้นั้นดูได้จาก เครดิตเรตติ้ง ที่จัดทำโดยบริษัทจัดอันดับเครดิต หรือคนมักจะเรียกสั้นๆ ว่า CRA (Credit Rating Agency) ที่ ก.ล.ต เห็นชอบ ซึ่งในประเทศไทยมี 2 ราย คือ บริษัท ทริสเรตติ้ง จำกัด และบริษัท ฟิทช์ เรตติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด
เวลาจะออกเรตติ้ง CRA ก็จะดูลักษณะของบริษัท ผลประกอบการ หลักทรัพย์ค้ำประกัน เงื่อนไขที่กำหนดให้ปฏิบัติตาม รวมถึงปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูว่ามีความสามารถชำระหนี้คืนขนาดไหน แล้วก็สะท้อนออกมาเป็นสัญลักษณ์
เรตติ้งที่หรูหราที่สุด คือ AAA ที่แทบจะไม่เสี่ยงเลย จากนั้นไล่ลงไป B , C และแย่ที่สุด คือ D ซึ่งหมายถึง Default หรือมีสถานะผิดนัดชำระหนี้ไปแล้ว ยิ่งตัวอักษรซ้ำหลายตัว หรือมีประจุบวก แสดงว่าคุณภาพดีกว่าอักษรตัวเดียวหรือไม่มีประจุ
ถ้าหุ้นกู้มีให้ดูเฉพาะเรตติ้งอย่างเดียว ทุกคนคงอยากเลือกไปลงทุนหุ้นกู้ที่เรตติ้งดี เสี่ยงน้อยกันหมด
แต่ในความเป็นจริง เราต้องไม่ลืมธรรมชาติของการลงทุนเมื่อ high risk ได้ high returm ดังนั้น low risk ก็ low return เช่นกัน
เรตติ้ง ก็สัมพันธ์กับ ผลตอบแทน ในลักษณะเดียวกัน
เรตติ้งกับผลตอบแทน
เครดิตเรตติ้งกับผลตอบแทน มีความสัมพันธ์แนบแน่นเหมือน ท่านเซอร์ ไอแซค นิวตัน กับแรงโน้มถ่วง เชียวครับ
อ่านเพิ่มเติม
Investment Grade กับ Non-Investment Grade
ระดับความน่าลงทุน ซึ่งแบ่งเป็น Investment Grade และ Non-Investment Grade
อ่านเพิ่มเติม
โอกาสที่ผู้ลงทุนไม่ได้รับเงินคืน ของแต่ละ Credit Rating
หุ้นกู้มีเรตติ้งหลายระดับ ซึ่งการลงทุนในหุ้นกู้เรตติ้งต่างกันก็มีโอกาสที่ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับเงินต้นคืน
อ่านเพิ่มเติม
Credit Rating เปลี่ยนได้
เครดิตเรตติ้ง ไม่ใช่ว่า ได้ระดับใดแล้วจะคงระดับนั้นไปตลอด บริษัทที่เคยได้เรตติ้ง AA เมื่อเวลาผ่านไป อาจจะตกชั้นได้
อ่านเพิ่มเติม
หุ้นกู้ที่มี rate กับหุ้นกู้ unrated
หุ้นกู้ที่ได้รับเครดิตเรตติ้ง ไม่ว่าจะเป็นเรตติ้งระดับลงทุน (Investment Grade) หรือต่ำกว่าระดับลงทุน (Non-Investment Grade)
อ่านเพิ่มเติม